bi2.htm
ตำนานพระแม่ย่า
พระแม่ย่าเป็นรูปสลักหินชนวน สูงประมาณ๑เมตรเศษ
ประทับยืนทรงพระภูษาทรงถนิมพิมพาภรณ์แบบนางกษัตริย์ประวัติและที่มอันแน่นอนของแม่ย่านั้น
ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่นอนว่าเป็นใครผู้รู้บางท่านสันนิษฐานว่าบางท่านก็ว่าน่าจะ
เป็นพระนางเสืองพระมารดาของพ่อขุนรามคำแห่งมหาราช เหตุที่เรียกว่าแม่ย่านั้น
เนื่องจากชาวเมืองนับถือพระมหากษัตริย์เป็นพ่อเมือง ดังนั้นลูกๆ (คือ
ประชาชน)
จึงเรียกพระมารดาของพระมหากษัตริย์ว่า ย่า หรือแม่ย่า รวมทั้งเรียก ถ้ำแม่ย่า
และเขาแม่ย่า
ตามความเชื่อดังกล่าวด้วย
ชาวเมืองสุโขทัยเชื่อกันว่า พระแม่ย่า นี้คือพระนางเสือง
พระมารดาของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ชาวเมืองเคารพสักการะ
และถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์มากใครบนบานศาลกล่าวสิ่งใดมักจะได้สมปรารถนา
จึงมีผู้ไปแก้บนที่ศาลเป็นประจำ เดิมนั้นเทวรูปแม่ย่า ประดิษฐานอยู่ ณ
ถ้ำแม่ย่า ต.นางเชิงคีรี
อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย ห่างจากเมืองเก่าสุโขทัย ประมาณ ๗ กิโลเมตร
ประวัติถ้ำแม่ย่าเดิมนั้นเป็นที่ประดิษฐานเทวรูประแม่ย่าอยู่ที่เพิงชะโงกเงื้อมมาทางใต้ประมาณ
๓ เมตรเศษ แม่ย่าหันพระพักตร์ ไปทางทิศใต้ตามเงื้อมเขาที่ยื่นล้ำออกมาทางด้านหลัง
เงื้อมผานี้มีถ้ำตื้นๆ
ต่อมาในปี ๒๔๕๘ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จตรวจราชการหัวเมืองฝ่ายเหนือ
ทรงรับสั่งให้พระยารามราชภักดี (ใหญ่ ศรลัมภ์) เจ้าเมืองสุโขทัยในสมัยนั้น
อัญเชิญพระแม่ย่าไว้ยังศาลากลาง ต่อไม่ได้สร้างศาลพระแม่ย่าที่หน้าศาลากลางและอัญเชิญ
พระแม่ย่าประดิษฐานให้ประชาชนกราบไหว้าสักการะเป็นประจำตราบเท่าทุกวันนี้
ปัจจุบันศาลพรแม่ย่าตั้งอยู่ ณ ตำบลธานี อ.เมือง จ.สุโขทัย ริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำยม
มีถนนนิกรเกษมเลียบฝั่งแม่น้ำยมผ่านหน้าศาลอาจจะเป็นเทวรูปพระอุมาในยุคขอม
เรืองอำนาจก่อนกรุงสุโขทัย
BACK